วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

คลื่นกระแสลมตะวันตก


   คลื่นกระแสลมตะวันตกเกิดที่ระดับบนคือ 5.5 กม. ถึง 12 กม. มีรูปร่างคล้ายคลื่น ลมนี้จะไม่สัมผัสร่างกายของคน แต่คลื่นกระแสลมตะวันตกจะเหนี่ยวนำหรือดึงดูดให้อากาศผิวพื้นลอยตัวขึ้นไปด้านบน และเนื่องจากโลกหมุนทำให้เกิดแรงโคริออลิส ลมจึงหมุนทวนเข็มนาฬิกาทำให้เกิดการก่อตัวของเมฆในแนวตั้ง ทำให้เกิดเมฆฝนฟ้าคะนอง หรือ เมฆคิวมูโลนิมบัส แต่เมฆหรือฝนจะเกิดขึ้นหรือไม่ขึ้นอยู่กับอากาศผิวพื้นถ้ามีความชื้นเพียงพอ ก็จะทำให้เกิดเมฆและฝน โดยเฉพาะฝนฟ้าคะนองในบางพื้นที่ 



   ฝนฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณด้านหน้าของคลื่น แต่เมื่อคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนผ่านไปอากาศด้านหลังคลื่นจะมีลักษณะจมตัว ทำให้อุณหภูมิจะลดลง และท้องฟ้าปลอดโปร่ง


ขอบคุณความรู้จาก

ดร.วัฒนา กันบัว ผอ.ศูนย์อุตุนิยมวิทยาทะเล
ประวิทย์ แจ่มปัญญา ผอ.สำนักพยากรณ์อากาศ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น