วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

น้ำค้างแข็ง และ แม่คะนิ้ง(เหมยขาบ)


น้ำค้างแข็ง

   เกิดจากไอน้ำใกล้พื้นดินเจอกับอากาศเย็น แต่เพราะอากาศเย็นไม่พอไอน้ำจึงกลั่นตัวเป็นหยดน้ำเกาะบนใบไม้ ใบหญ้า และเมื่ออุณหภูมิลดลง(เรื่อยๆ) ต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง หรือ ต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ทำให้หยดน้ำจับตัวเป็นก้อนน้ำแข็งบนใบไม้ อุณหภูมิที่ลดลงต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส อาจเกิดจากลมที่พัดเอาอากาศหนาวเย็นเข้ามา



แม่คะนิ้ง(ภาษาอีสาน) หรือ เหมยขาบ(ภาษาเหนือ)  

   เกิดจากไอน้ำในอากาศใกล้พื้นดิน เช่น ไอน้ำจากใบไม้ ต้นไม้ เจอกับอากาศเย็นจัด ทำให้ไอน้ำ(ของเหลว) เปลี่ยนเป็น เกร็ดน้ำแข็ง(ของแข็ง) บนผิวของวัตถุต่างๆโดยตรงเนื่องจากอากาศหนาวเย็นจัด โดยไม่กลั่นตัวเป็นหยดน้ำ มีลักษณะเป็นผลึกน้ำแข็งที่มีลักษณะเป็นเกล็ด เข็ม หรือ พัด



                                                                           **ขอบคุณภาพจากผู้จัดการออนไลน์


ความแตกต่างของ น้ำค้างแข็ง และ แม่คะนิ้ง


                                                                     **ขอบคุณภาพจาก ชมรมคนรักมวลเมฆ (อ.บัญชา)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น