วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ความกดอากาศสูง และ ความกดอากาศต่ำ

     ความกดอากาศสูง (High Pressure Area ) คือ บริเวณที่มีความกดอากาศสูงกว่าบริเวณใกล้เคียงที่อยู่รอบๆ บริเวณที่มีความกดอากาศสูง อากาศจะจมตัว ท้องฟ้าแจ่มใส และ อากาศหนาวเย็น กระแสลมจะพัดออกจากศูนย์กลางในทิศทางตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ และในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกใต้ แต่อาจมีเมฆมากกับมีฝนได้ตามขอบของบริเวณความกดอากาศสูง หรือแอนติไซโคลนที่อยู่ใกล้กับแนวปะทะอากาศ

                                                      ขอบคุณภาพจาก www.gotoknow.org

     ความกดอากาศต่ำ (Low Pressure Area) คือ บริเวณที่มีความกดอากาศต่ำกว่าบริเวณใกล้เคียงที่อยู่รอบๆ บริเวณความกดอากาศต่ำนี้จะมีกระแสลมพัดเข้าหาศูนย์กลางในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ และในทิศทางตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกใต้ การเคลื่อนไหวของอากาศรอบศูนย์กลางบริเวณความกดอากาศต่ำเช่นนี้ เรียกว่า Cyclonic Circulation ตามปกติในบริเวณความกดอากาศต่ำจะมีเมฆมากและมีฝนตกด้วย ถ้าอยู่ในทะเลหากมีความกดอากาศต่ำมากๆจะเป็นพายุดีเปรสชั่น - พายุโซนร้อน - พายุไต้ฝุ่น ต่อไป

                                                      ขอบคุณภาพจาก www.gotoknow.org

     ในแผนที่อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา จะแสดงบริเวณความกดอากาศสูง-ต่ำ ด้วยสัญลักษณ์ H (ความกดอากาศสูง) และ L (ความกดอากาศต่่ำ)

                                                                   ขอบคุณภาพจาก กรมอุตุนิยมวิทยา
   
     เส้นยาวๆที่เห็นในแผนที่อากาศนี้คือ เส้นไอโซบาร์ เป็นเส้นที่ลากผ่านจุดที่มีความกดอากาศเท่ากัน หากเส้นไอโซบาร์อยู่ชิดกัน แสดงว่า ความกดอากาศเหนือบริเวณนั้นมีความแตกต่างกันมาก หรือมีแรงเกรเดียนมาก จึงมี ลมพัดแรง แต่ถ้าเส้นไอโซบาร์อยู่ห่างกันแสดงว่า ความกดอากาศเหนือบริเวณนั้นมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย  หรือมีแรงเกรเดียนน้อย  แสดงว่ามี ลมพัดอ่อน 

     แนวราบ อากาศจะเคลื่อนตัวจากหย่อมความกดอากาศสูง (H) ไปยังหย่อมความกดอากาศต่ำ (L) ทำให้เกิดการกระจายและหมุนเวียนอากาศไปยังตำแหน่งต่างๆ บนผิวโลก เราเรียกอากาศซึ่งเคลื่อนตัวในแนวราบว่า “ลม” (Wind)

   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น